17 เทคนิคการฝึกกลืนเหมาะสำหรับผู้มีภาวะกลืนลำบาก

ครั้งที่แล้วเราได้เขียนบทความที่นำเสนออาหารที่เหมาะกับผู้มีภาวะกลืนลำบาก อ่านได้ตรงนี้ อาหารที่เหมาะกับภาวะกลืนลำบาก วันนี้เลยจะมาแชร์ 17 เทคนิคง่ายๆ สำหรับการฝึกกลืนซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการรับประทานอาหารของผู้มีภาวะกลืนลำบาก ผู้ที่มีภาวะกลืนลำบากต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการฝึกที่ถูกวิธี เพื่อป้องกันการสำลัก และอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด

17เทคนิคช่วยภาวะกลืนลำบาก
  1. ขณะฝึกกลืนควรมีผู้ฝึก ผู้แนะนําหรือผู้ดูแล ที่มีทักษะอยู่ด้วย
  2. ก่อนฝึกกลืน หากมีน้ำลายเหนียวหรือเสมหะมากต้องเคาะปอดหรือดูดเสมหะก่อน เพื่อให้ระบบหายใจโล่ง และให้พักเหนื่อยสักระยะก่อนรับประทํานอาหาร
  1. จัดอาหารอยู่ในระดับสายตาเพื่อกระตุ้นความอยากอาหาร
  2. บอกขั้นตอนการกลืนแก่ผู้ป่วย
  3. ขณะตักอาหารเข้าปาก อาจใช้มือช่วยหนีบปากให้ผู้ป่วยให้ปิดให้สนิท กระตุ้นกระพุ้งแก้ม หรือใช้ไม้กดลิ้นช่วยเขี่ยอาหารที่ ตกค้างอยู่ช่องแก้มระหว่ํางกระพุ้งแก้มกับฟัน
  1. ฝึกกินอาหารคําเล็กๆ ก่อน ประมาณ 1/3 ช้อนชา
  2. กระตุ้นให้กลืนอาหารซํ้าๆ หลายครั้งอย่างน้อย 2 ครั้ง/คํา
  3. ถ้ามีอาหารค้างอยู่ในปาก จากการอ่อนแรงของลิ้นหรือแก้ม ให้ก้มศีรษะคางชิดอกขณะกลืนอาหาร หรือหันคอไปที่ข้ํางอ่อนแรงหรือเอียงคอไปที่ข้างแข็งแรงกว่าขณะกลืนหรือเมื่อรู้สึกว่ากลืนติดคอด้านใด ให้หันศีรษะไปด้านตรงข้าม
  1. ระหว่างการฝึก หากผู้ป่วยสีหน้าเฉย ไม่แสดงความรู้สึก และสํายตําไม่มองอาหารที่ป้อนแสดงว่าผู้ป่วยอาจล้า ควรหยุดพักการป้อนอาหาร แล้วกระตุ้นความสนใจให้ผู้ป่วยรู้สึก และทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น คุยเล่นว่าชอบทานอาหารอะไร แล้วชี้ให้มองและสัมผัสอาหารนั้นๆ
  1. ตรวจหาอาหารที่ค้างในปากหลังกลืน ถ้ามีอาหารค้างให้บอกผู้ป่วยใช้ลิ้นกวาดอาหารที่ค้างได้ ให้ใช้ช้อนแบนนิ้วมือที่สะอาดกวาดอาหาร เขี่ยอาหารออกมาเพื่อให้ลิ้นทำการบดเคี้ยวและกลืนซ้ำต่อไป
  1. ควรกระตุ้นช่วยการกลืนน้ำลายลงให้หมดก่อนที่จะเริ่มป้อนอาหารคำต่อไป
  1. ไม่ชวนคุยขณะที่กลืนอาหาร
  2. หลังตรวจเช็คว่ากลืนอาหารแต่ละคำหมดแล้วให้ออกเสียง อา เพื่อดูว่าเสียงเปลี่ยนแปลงไปไหม เช่นเสียงพร่า หรือเสียงขึ้นจมูกหรือไม่
  1. ถ้าใช้เวลาในการรับประทานอาหารนานเกิน 45-60 นาที อาจทําให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน อ่อนแรงและเสี่ยงต่อการสําลัก
  2. ให้แบ่งมื้ออาหารเป็น 5-6 มื้อ
  1. หลังรับประทานอาหารต้องทำความสะอาดในช่องปากทุกครั้ง และให้ผู้ป่วยนั่งในท่าเดิมหรือทำกิจกรรมประมาณ 20 – 60 นาทีจึงนอนพักได้
  1. กรณีกลืนอาหารแข็งและอ่อนสลับกัน ต้องคอยให้อาหารแต่ละแบบถูกกลืนลงไปให้หมดก่อน ให้ผู้ป่วยกลืนซ้ำๆ หลายๆครั้ง ถ้าอาหารแบบแข็งกลืนไม่ได้ ต้องปรับให้นิ่มขึ้น ถ้าอาหารแบบเหลวกลืนแล้วสําลัก ต้องปรับให้ข้นขึ้น ที่สำคัญผู้ฝึกต้องให้โอกาสผู้ป่วยเลือกอาหารที่ชอบเพื่อมาปรับลักษณะอาหารด้วย
  1. ถ้ามีอาการสำลัก ไอมาก ให้หยุดฝึกกลืน และส่งพบผู้เชี่ยวชาญ

บริการของเรา

view more
view more
view more
view more
view more
view more
view more
view more