Sarcopenia คืออะไร ทำไมผู้สูงอายุต้องรู้ ?

ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย หรือ Sarcopenia คือ การสูญเสียมวลของกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งภาวะนี้ถือเป็นกลุ่มอาการของผู้สูงอายุ (Geriatric Syndrome) ที่พบบ่อยถึง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุทั่วไป ซาร์โคเพเนีย คือ การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ​ โครงกระดูก และ ความแข็งแรงเป็นผลมาจากการแก่ตัว  หรือ การเป็นผู้สูงอายุที่ขี้เกียจเดิน​ ผู้สูงอายุทุกท่าน ระวัง “ซาร์โคเพเนีย” จะมาเยือนท่าน

สีกับอารมณ์
โรคมวลกล้ามเนื้อน้อย sarcopenia
  1. พยายามยืน/เดิน ให้มากขึ้น…นั่ง/นอน เท่าที่จำเป็น
  2. หลังอายุ 60~70 ปี ยากที่จะลดน้ำหนักได้ โดยเฉพาะถ้าไม่ออกกำลังกาย และพึ่งพาการกินให้น้อยลงเพื่อลดน้ำหนัก กล้ามเนื้อทั้งหมดอาจหายไป…มันอันตรายมากนะ.! 
  3. การเดิน  การขี่จักรยาน เป็นการออกกำลังกายที่ดี และไม่เจ็บเข่า
  4. ถ้าผู้สูงอายุป่วย และเข้าโรงพยาบาลการนอนเพียง 1 สัปดาห์ ผู้สูงอายุ จะเสียมวลกล้ามเนื้ออย่าง
    น้อย 5%
  5. ปกติผู้สูงอายุ จำนวนมาก ที่ไม่ทำอะไรด้วยตนเอง  ที่จ้างผู้ช่วยคอยดูแลคอยพยุง จะยิ่งสูญเสียมวลกล้ามเนื้อเร็วขึ้น
  6. ตราบใดที่ผู้สูงอายุ พยายามเดินหรือ เคลื่อนไหวด้วยตัวเองบ่อยๆ กล้ามเนื้อทั้งหมดของร่างกาย​ จะเกี่ยวข้องรวมไปถึงการกลืนอาหาร ก็จักดีขึ้น   
  7. โรคซาร์โคเพเนีย นั้น ความจริง น่ากลัวมากกว่าโรคกระดูกพรุนเพราะ โรค “ซาร์โคเพเนีย”  ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูงอีกด้วย
  8. ผู้สูงอายุ ที่ไม่ค่อยเดิน หรือ ขาเคลื่อนไหวน้อย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา จะได้รับผลกระทบที่รุนแรง ดังนั้น อย่างน้อย ฝึกนั่งสควอต (ยืน/นั่งยอง วันละ 20-30 ครั้ง) หรือยืนขึ้นทันที เมื่อก้นของคุณ สัมผัสที่นั่งบนเก้าอี้ วันละ 20-30 ครั้งก็ยังดี
ออกกำลังลดภาวะภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย หรือ Sarcopenia มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ

วันนี้….. คุณต้องใส่ใจกับ……“ซาร์โคเพเนีย” แล้วนะ 
ขึ้น & ลงบันได … การเดิน  ในทุกวัน สามารถเพิ่มมวลกล้ามเนื้อได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น…สำหรับทุกคนเมื่อเป็นผู้สูงวัย… 
“ผลการศึกษา” จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนในเดนมาร์กพบว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ของการไม่เดิน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาสามารถ ***ลดประสิทธิภาพของขาลง ได้ถึง​ 1​ใน3 ซึ่งเท่ากับอายุเพิ่มขึ้น 20-30​ ปี……. ***งั้นเดินไปเถอะ***  เมื่อใดกล้ามเนื้อขาของเราอ่อนแอลง  เราจะต้องใช้เวลานานในการฟื้นตัวในภายหลัง

ดังนั้น การเดินจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

  •  50% ของกระดูก & 50% ของกล้ามเนื้ออยู่ในสองขาของเรา
  • ข้อต่อ & กระดูกที่ใหญ่ที่สุด & แข็งแรงที่สุด ก็อยู่ที่ขาของเรา ดังนั้น  พยายามเดินให้ได้ ในทุกวัน

อ้างอิง
https://www.bangkokhospital.com/content/muscle-wasting-in-the-elderly

บริการของเรา

view more
view more
view more
view more
view more
view more
view more
view more